พระเจดีย์ใหญ วัดบวรนิเวศวิหารก่อพระฤกษ์เมื่อเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ.๑๑๙๓ (วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๗๔) ในสมัยรัชกาลที่๓ และใช้เวลาก่อสร้างต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่๔ องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลม มีคูหาภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ ๒ ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา ๔ ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก ๔ องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ
 

      บนทักษิณชั้นที่ ๑ ประดิษฐานเทวรูป ๑ องค์ คือ ด้านทิศเหนือ พระพรหม พระวิสสุกรรม ด้านทิศใต้ พระนารายณ์ พระศิวะ ด้านทิศตะวันตก พระปัญจสิขะ พระประคนธรรพและมีเก๋งประจำทิศ
      บนทักษิณชั้นที่ ๒ มีซุ้มปรางค์ประจำทิศ และนพลานทักษิณชั้นนี้ ด้านทิศเหนือ ประดิษฐานเก๋งพระไพรีพินาศ ด้านทิศตะวันออก มีซุ้มปรางค์ประดิษฐานพระบรมรูปปั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 
 
คลิ้กที่จุด 360 เพื่อเลือกจุดชมภาพ Virtual Reality
Download โปรแกรม Java Virtural Machine
ถ้าไม่สามารถดูภาพเสมือนจริง คลิก


พระบรมรูปรัชกาลที่ ๔
หน้าพระเจดีย์ใหญ
ซุ้มปรางค์มุมพระเจดีย์ใหญ
พระไพรีพินาศเจดีย
พระไพรีพินาศ
พระเจดีย์กาไหล่ทอง
     
 
 
      รูปสัตว์ เหนือซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์ใหญ่ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย คือ ม้า = พม่า, นก = โยนก, ช้าง = ล้านช้าง และสิงห์ = สิงคโปร์
   
 
 
 
เทวรูปประจำทิศ ๖ องค์
 
 
ทางเข้าสู่คูหาภายในพระเจดีย์ใหญ
พระพรหม เทวรูปประจำทิศเหนือ
รูปตุ๊กตาจีนบริเวณพระเจดีย์ใหญ่


พระไพรีพินาศจำลอง ด้านหน้าพระเจดีย์พุทธศาสนิกชนทั่วไปสามารถจุดธูปเทียนไหว้พระได้ ณ จุดนี้
 

      

      พระเจดีย์กาไหล่ทอง ฐานศิลาสลักเรื่องปฐมสมโพธิ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างเมื่อ   พ.ศ.๒๓๘๖(จ.ศ.๑๒๐๖) ในรัชกาลที่๓ ประดิษฐานอยู่ภายในคูหาพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร

      ฐานพระเจดีย์กาไหล่ทอง เป็นแท่นสี่เหลี่ยมประกอบศิลาสลักภาพพุทธประวัติ ปางประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ด้านละปาง มีอักษรจารึก พระวาจา พระอุทาน และพระพุทธวจนะ

      พระไพรีพินาศเจดีย เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ ประดิษฐานอยู่ในคูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างการซ่อมแซมพระเจดีย์ใหญ่ได้เปิดองค์พระไพรีพินาศเจดีย์ดู พบกระดาษสีขาว มีตราแดง ๒ ดวง มีอักษรเขียนไว้ว่า “พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่าพระไพรีพินาศเจดียเทิญ” อีกหน้าหนึ่งเขียนว่า “เพราะตั้งแต่ทำแล้วมาคนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ”

      พระเจดีย์กาไหล่ทอง ประดิษฐานอยู่ด้านทิศใต้ เป็นพระเจดีย์พระบรมราชานุสรณ์ พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในวันปุริมพรรษา วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐

      เจดีย์โลหะปิดทอง ที่อยู่ด้านเหนือและเจดีย์ไม้ปิดทอง ที่อยู่ด้านตะวันออก ไม่ปรากฏประวัติ

      พระไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร สมัยศรีวิชัย ประดิษฐานอยู่ที่เก๋งบนทักษิณ ชั้นสองของพระเจดีย์ใหญ่ พระพุทธรูปองค์นี้ มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงพระผนวชอยู่ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๙๑ พระองค์ได้ถวายพระนามว่า พระไพรีพินาศ

      พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ ซุ้มปรางค์บนทักษิณชั้นบนของพระเจดีย์ ด้านทิศตะวันออก เป็นพระบรมรูปที่หล่อขึ้นใหม่ จำลองจากพระบรมรูปองค์เดิม ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ตำหนักเพ็ชร พระบรมรูปจำลององค์นี้ หม่อมเจ้าหญิงจงจิตถนอม ดิศกุล ทรงให้กรมศิลปากรหล่อ และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ซุ้มปรางค์นี้ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘

      รูปสัตว์ เหนือซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์ใหญ่ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย คือ ม้า = พม่า, นก = โยนก, ช้าง = ล้านช้าง และสิงห์ = สิงคโปร์

      เทวรูปประจำทิศ ๖ องค์ ที่ทักษิณชั้นล่างของพระเจดีย์ใหญ่ ทิศเหนือ พระพรหม พระวิสสุกรรม,ทิศใต้ พระนารายณ์ พระศิวะ และทิศตะวันตก พระปัญจสิกขะ พระประคนธรรพ